วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดที่ 2

แบบฝึกหัดที่ 2
1. GIGO มาจากคำเต็มว่าอะไร โดยนิยามดังกล่าว ต้องการมุ่งเน้นถึงสิ่งใดเป็นสำคัญ
ตอบ    gigo  (กิโก) ย่อมาจาก garbage in ,  garbage out พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานแปลว่า เข้าผิด ออกผิด แต่ถ้าแปลตามตัวจะได้ว่า ขยะเข้า ขยะออกเป็นคำกล่าวที่ใช้เตือนสติผู้ใช้คอมพิวเตอร์ว่า
ถ้าใส่ข้อมูลที่ไร้คุณค่าลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องก็มิอาจจะทำให้ข้อมูลนั้นมีค่าขึ้นมาได้เลย อีกนัยหนึ่งเป็นการบอกให้นักคอมพิวเตอร์มือใหม่รู้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์หาใช่สิ่งมหัศจรรย์ที่จะเนรมิตข้อมูลเลว ๆให้เป็นสารสนเทศ (information) ดี ๆ ได้ ถ้าใส่ขยะ (ข้อมูลเลว ๆ) เข้าไปก็จะได้ขยะ (สารสนเทศเลว ๆ)ออกมา
2. การที่องค์กรหรือภาคธุรกิจทั่วไปในปัจจุบัน นิยมนำระบบสารสนเทศมาใช้งานกันมากขึ้น และสามารถเป็นเจ้าของระบบสารสนเทศกันง่ายขึ้นสืบเนื่องมาจากสาเหตุใด ยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ  สืบเนื่องจากแนวคิดการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน มักเน้นที่ความพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ องค์การจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านการตลาด รวมทั้งการสร้างแรงจูงใจให้กับบุคลากรของทุกหน่วยงาน ในการสร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่ส่งมอบต่อลูกค้าทุกราย อันจะนำไปสู่ระดับความพึงพอใจของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ การใช้สารสนเทศที่ทันต่อเหตุการณ์จึงยิ่งจะทวีความจำเป็นมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น หากเลือกเทคโนโลยีที่ถูกต้อง และราคาสมเหตุผล นอกจากจะทำให้มีประสิทธิภาพทัดเทียมกับธุรกิจที่มีขนาดใหญ่แล้ว ยังช่วยลดค่าใช้จ่าย และลดภาระในการทำงานได้เป็นอย่างมากอีกด้วย เช่น ลูกค้าซื้อของเราไปแล้ว สามารถใช้งานได้คุ้มค่าสมราคา มีผลประกอบการที่ดี เรามีกำไร นั่นคือธุรกิจ
3. อยากทราบว่า เหตุผล 3 ประการที่ธุรกิจต่างก็นำระบบสารสนเทศมาใช้ในองค์กร มีอะไรบ้าง
ตอบ   แผนกลยุทธ์ด้านระบบสารสนเทศ มีลักษณะ 3 ประการคือ
1. แผนกลยุทธ์ด้านระบบสารสนเทศจะต้องสัมพันธ์กับแผนกลยุทธ์ขององค์กร
2. แผนกลยุทธ์ด้านระบบสารสนเทศควรจะมีการกำหนดโครงสร้างด้านเทคโนโลยี (IT Architecture) ซึ่งต้องฐานข้อมูล, แอพพลิเคชั่น, และผู้ใช้มีการเชื่อมโยงเป็นระบบเดียวกัน
3.  มีการจัดสรรทรัพยากรด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ ให้สำเร็จตามเวลา และทำตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ 
4.ให้ยกตัวอย่างถึงกิจการที่ปรับปรุงกระบวนการธุรกิจใหม่ โดยการนำสิ่งใดมาประยุกต์ใช้
ตอบ   ธนาคารกสิกรไทยกับการรีเจเนียริ่ง
           " รีเอ็นจิเนียริ่ง ไม่ใช่สูตรสำเร็จ ไม่เรื่องคาถาวิเศษ ซึ่งเป่าลงไปแล้วองค์กรนั้นจะเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ จากที่ไม่ดีเป็นดี จริง ๆ แล้ว เรื่องทั้งหมดคือเรื่องของ Management of Change พอลงมือทำแล้วจึงรู้ว่า การเปลี่ยนแปลงนั้นมันวุ่นวายเหนื่อยยาก และเจ็บปวดขนาดไหน ภาพคนที่ทำการปลี่ยนแปลงคือผู้ร้ายไม่ใช่พระเอกขี่ม้าขาว"
นี่คือคำกล่าวของบัณฑูร ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยักษ์ใหญ่กสิกรไทย ผู้เป็นองค์ปาฐกในรายการ " ไทยแลนด์เลกเซอร์"
         นิยามแท้จริงของรีเอ็นจิเนียริ่ง ที่แฮมเมอร์กล่าวคือ การรื้อระบบแบบถอนรากถอนโคน (Radical) ที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงใหม่มหาศาล (Dramatic) ลงลึกไปถึงการเปลี่ยนแปลงกระบวนการต่าง ๆ (processes) และการรีเอ็นจิเนียริ่ง ไม่จำเป็นต้องอยู่ในภาวะที่บริษัทมีปัญหา แต่อาจเป็นภาวะที่บริษัทเติบโตและต้องการโตต่อไป
         " รีเอ็นจิเนียริ่ง ไม่ใช่การไล่คนออก แต่ต้องการให้คนทำงานให้ดีขึ้น ทั้งนี้อาจต้องยอมรับว่าในระยะสั้น การรีเอ็นจิเนียริ่งอาจทำให้งานของคนบางคนลดลง ซึ่งดูเป็นเรื่องโหดร้ายกับบางคน แต่ถ้าไม่เลือกทำเช่นนี้ องค์กรก็อาจอยู่ไม่ได้" แฮมเมอร์ กล่าว
          กสิกรไทย เห็นกระบวนการใหม่ ๆ (redesign) ที่ใช้เทคโนโลยีเหมาะสม (Retool) ภายใต้การอบรมใหม่ (Retrain) ที่ก่อให้เกิดผลงานที่ดีขึ้นกว่าเดิมในเรื่องคุณภาพ ความรวดเร็ว และต้นทุนที่ต่ำกว่า
เพระผลที่จับต้องได้จากการศึกษาของแฮมเมอร์ว่า การรีเอ็นจิเนียริ่งจะส่งผลดีในด้านค่าใช้จ่ายลดลง 56% ขณะที่ความพอใจลูกค้าเพิ่มขึ้น 73% และเวลาทำงานลดลงเฉลี่ย 80%
           ปรากฏผลสรุปว่า หลังการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง กสิกรไทยลดขั้นตอนและเวลาได้ถึง 80% จากปกติการบริการแต่ละประเภทโดยเฉลี่ย 15 นาที ก็เหลือแค่ 3 นาทีเท่านั้น เพราะยึดหลักเอาใจ "ลูกค้า" ยิ่งกว่า "เจ้านาย"




นางสาวอนุสรา สายธนู ชั้น ป.ตรี 4 สาขา sme เลขที่ 7

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น