วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดบทที่ 10

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 10

1. จงอธิบายแนวคิดของระบบวิสาหกิจ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศต่าง ๆ ขององค์การ
 ตอบ ด้านหน้าที่งานแนวไขว้ คือ หน้าที่งานหน้าที่หนึ่ง อาจอยู่ในความรับผิดชอบร่วมกันของสองหน่วยงาน เช่น หน้าที่งานด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ อาจอยู่ในความรับผิดชอบร่วมกันของฝ่ายวิจัยและพัฒนาและฝ่ายการผลิต

2. ในส่วนมิติด้านความสามารถในการประกอบธุรกิจ มีความเกี่ยวข้องกับการบูรณาการทางธุรกิจอย่างไร
 ตอบ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สำหรับกระบวนการทางธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้อง

3. ผู้จัดหาวัสดุเพื่อป้อนเข้าสู่โรงงานผลิตสินค้าจัดอยู่ในโครงสร้างใดของโซ่อุปทาน
 ตอบ โครงสร้างและระดับชั้นของผู้จัดหา

4. การขายหนังสือบนเว็บที่มีจัดส่งเนื้อหาในรูปแบบดิจิทัล ประกอบด้วยสายงานใดบ้างภายใต้โซ่อุปทาน
 ตอบ  สายงานด้านสารสนเทศและสายงานด้านการเงิน

5. บุลวิป เอฟเฟก คือปัญหาเรื่องใดภายใต้โซ่อุปทาน จงอธิบาย
ตอบ ด้านระยะเวลาการนส่งสินค้าและความไม่แน่นอนจากกการตั้งค่าระดับสินค้าคงเหลือของชิ้นส่วน

6. อาร์เอฟดีไอ คือ เทคโนโลยีที่ช่วยสนับสนุนการจัดโซ่อุปทานอย่างไร
ตอบ สนับสนุนในส่วนของผู้ค้าปลีก ตัวแทนจำหน่ายและผู้ผลิต โดยองค์การจะให้ผู้จัดหารายใหญ่แนบป้ายระบุความถี่วิทยุติดกับแท่นวางสินค้าหรือกล่องสินค้าในระหว่างที่ขนส่งสินค้ามายังองค์การ

7. จงยกตัวอย่างสื่อที่ใช้ภายใต้ระบบประยุกต์ด้านสัมผัสลูกค้า
 ตอบ การใช้อีคอมเมิร์ชช่วยในธุรกิจ

8. จงยกตัวอย่างบริการขั้นพื้นฐานของอี-ซีอาร์เอ็ม
ตอบ เริ่มตั้งแต่การใช้โปรแกรมค้นดูเว็บอินเทอร์เน็ตหรือจุดสัมผัสอิเล็กทรอนิกส์ เช่น อีเมล

9. ระบบสารสนเทศด้านการจัดการความรู้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศด้านการวางแผนทรัพยากรองค์การอย่างไร
 ตอบ  เพราะระบบสารสนเทศด้านการวางแผนทรัพยากรองค์การ เป็นระบบที่ใช้ในการวางแผนทางด้านต่าง ๆ ดังนั้น ระบบสารสนเทศด้านการจัดการความรู้ จึงต้องการการวางแผนที่เป็นระบบเช่นกัน

10. การแพร่กระจายคามรู้ทั่วทั้งองค์การ จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศใดบ้าง
 ตอบ  ใช้ระบบสารสนเทศด้านการจัดการความรู้

สรุปบทที่ 10

บทที่ 10 ระบบสารสนเทศยุคโลกาภิวัตน์
แนวคิดและวิวัฒนาการ
1.ความหมาย
                คือ ระบบที่มีการเชื่อมโยงระบบสารสนเทศต่างๆเข้าด้วยกัน โดยอาจจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีด้านเครือข่ายและสื่อสารข้อมูลเข้าร่วมด้วย เพื่อให้เกิดการแพร่กระจายสารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์การ
2. วิวัฒนาการ
                เริ่มแรกธุรกิจไดนำระบบคอมพิวเตอร์ มาใช้เพื่อการจัดการงานตามสายงานของโซ่อุปทานเพื่อทดแทนการทำงานภายใต้ระบบมือที่ล่าช้าและมักเกิดข้อผิดพลาดบ่อย ต่อมาธุรกิจเริ่มตระหนักถึงปฏิสัมพันธ์ของระบบต่าง ๆ ภายใต้โซ่อุปทาน เช่น มีการตระหนักถึงงานด้านการจัดตารางการผลิต จึงมีการพัฒนาแบบจำลองด้านการวางแผนความต้องการซื้อวัสดุ 3. การบูรณาการด้านซอฟต์แวร์
                3.1 การบูรณาการภายในองค์การ คือ การรวมตัวของระบบประยุกต์ต่าง ๆ และฐานข้อมูลภายในบริษัท เช่น การสั่งซื้อ การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ การใช้ระบบเบ็ดเสร็จ มีผลให้เกิดความซับซ้อนมากขึ้น
                3.2 การบูรณาการภายนอกองค์การ คือ การรวมตัวกันของระบบประยุกต์และฐานข้อมูลระหว่างองค์การและหุ้นส่วนธุรกิจ เช่น การแสดงบัญชีรายการสินค้าของผู้ขาย การติดตั้งระบบจัดหาอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ซื้อ เป็นต้น
ระบบวิสาหกิจ
                คือ ระบบสารสนเทศที่เป็นตัวแทนของระบบสารสนเทศยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่ง Turban et al ได้ให้คำจำกัดความ ระบบวิสาหกิจ หมายถึง ระบบหรือกระบวนการที่มีความเกี่ยวข้องกับขอบเขตงานทั่วทั้งองค์การหรืองานในหน้าที่หลักขององค์การ และมักถูกจำกัดขอบเขตในแต่ละแผนก
                O’brien ได้กล่าวไว้ว่า การดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน หลายบริษัทมักเน้นถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาระบบวิสาหกิจ ด้านหน้าที่งานแนวไขว้ คือ หน้าที่งานหนึ่ง อาจอยูในความรับผิดชอบร่วมกันของสองหน่วยงาน
                Laudon and Laudon ระบุถึงผลประโยชน์ที่องค์การจะได้รับจากการใช้ระบบวิสาหกิจที่มุ่งเน้นการบูรณาการกระบวนการทางธุรกิจต่าง ๆ ให้อยู่ภายใต้การทำงานของระบบเดียว โดยผลประโยชน์เหล่านี้จะอยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงมิติต่างๆ ทางธุรกิจ ดังนี้
                มิติที่ 1 โครงสร้างองค์การ
                มิติที่ 2 กระบวนการจัดการที่มุ่งเน้นการจัดการฐานความรู้ทั่วทั้งองค์การ
                มิติที่ 3 แพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่มีการรวมตัวเป็นหนึ่งเดียว
                มิติที่ 4 ความสามารถในการประกอบธุรกิจ
ระบบสารสนเทศด้านการจัดการโซ่อุปทาน
1. สายงานด้านโซ่อุปทาน
1.1 สายงานด้านวัสดุ หมายถึง ผลิตภัณฑ์ทางกายภาพทั้งหมด รวมถึงวัสดุและชิ้นส่วนการผลิตต่างๆ ซึ่งมักจะมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์
1.2 สายงานด้านสารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความต้องการวัสดุ การลำเลียงวัสดุ การรับคำสั่งซื้อ การส่งคืนวัสดุ ตารางการจัดหาวัสดุ รวมทั้งข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงแหล่งจัดเก็บข้อมูล
1.3 สายงานด้านการเงิน หมายถึง ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการโอนเงิน การจ่ายเงิน สารสนเทศด้านบัตรเครดิตและการอนุมัติ ตารางการจ่ายเงิน ละการจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์
2. โครงสร้างและระดับชั้นของผู้จัดหา
                2.1 โครงสร้างของโซ่อุปทาน
                                2.1.1 แหล่งต้นทาง คือ แหล่งวัสดุภายในองค์การ หรือจัดกาจากผู้ขายวัสดุภายนอกองค์การ
                                2.1.2 แหล่งภายใน คือ แหล่งที่มีการบรรจุ การผลิตสินค้าและบริการเกิดขึ้น
                                2.1.3 แหล่งตามทาง คือ แหล่งกระจายวัสดุ โดยผู้แทนจำหน่ายภายนอกองค์การ
                2.2 ระดับชั้นของผู้จัดหา
                           คือ องค์ประกอบหนึ่งของโซ่อุปทานซึ่งโดยปกติจะมีหลายระดับชั้น หรือมีเพียงระดับชั้นเดียวขึ้นอยู่แต่ละกระบวนการ ในบางกระบวนการที่ประกอบด้วยผู้จัดหาหลายระดับชั้น คือ ผู้จัดหารายหนึ่ง อาจประกอบด้วยผู้จัดหารรายย่อยเพียงหนึ่งรายหรือมากกว่าหนึ่งรายก็ได้ และผู้จัดหารายย่อยก็อาจมีผู้จัดหาย่อยของตนในอีกระดับถัดไป
3. การออกแบบโซ่อุปทาน
                โดยมีการจำแนกรูปแบบของโซ่อุปทานออกเป็น 4 ประเภท คือ การผลิตเป็นสินค้าคลังแบบบูรณาการ การเติมเต็มสินค้าอย่างต่อเนื่อง การผลิตตามคำสั่ง และช่องทางการประกอบชิ้นส่วน สำหรับการออกแบบที่ดีจะต้องบรรลุเป้าหมายด้านลดความไม่แน่นอนและความเสี่ยงตามสายงานของโซ่อุปทาน
4. ปัญหาด้านโซ่อุปทาน
                อาจมีสาเหตุจากภายในองค์การนั่นเอง อันเนื่องจากความยาวและความซับซ้อนของโซ่อุปทาน หรืออาจมีสาเหตุมาจากภายนอกองค์การ รวมทั้งกรณีที่มีพันธมิตรเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น บริษัทไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ สินค้าคงคลังมีปริมาณมาก และมีต้นทุนสูงเกินไป ในส่วนของสาเหตุปัญหาที่มักเกิดขึ้นในสายงานโซ่อุปทานมี 2 ประการ คือ
                ประการที่ 1 จากความไม่แน่นอน
                ประการที่ 2 จากความต้องการประสานงานในกิจกรรมที่หลากหลาย
5. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
                5.1 การแบ่งปันด้านสารสนเทศ ซึ่งช่วยแก้ปัญหาด้านโซ่อุปทานและความสามารถปรับปรุงการพยากรณ์ยอดขายได้เป็นอย่างดี โดยใช้ระบบสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีกรุ๊ปแวร์ และเอกซ์ทราเน็ต
                5.2 การใช้เทคโนโลยีด้านการกำหนดความถี่วิทยุ หรืออาร์เอฟไอดี โดยองค์การอาจให้ผู้จัดหารายใหญ่แนบป้ายระบุความถี่วิทยุติดกับแท่นวางสินค้าหรือกล่องสินค้า ในระหว่งาทางที่ขนส่งสินค้ามายังองค์การและใช้ป้ายนี้เป็นเครื่องมือสื่อสารข้อมูลการขนส่งสินค้าภายในองค์การ
                5.3 การเปลี่ยนโซ่อุปทานส้นตรงเป็นฮับ ซึ่งมีผลให้กระแสสารสนเทศไหลช้าลง ทางเลือกหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้ คือ เปลี่ยนโซ่อุปทานเส้นตรงเป็นฮับ ในลักษณะของวงล้อจุดศูนย์กลาง
                5.4 ความร่วมมือด้านโซ่อุปทาน มักต้องการการประสานงานภายใต้กิจกรรมต่าง ๆ และมีการเชื่อมโยงกับโซ่อุปทาน หากธุรกิจใดประสานงานได้ประสบผลสำเร็จ ก็จะเคลื่อนย้ายสินค้าได้เร็วขึ้น
                5.5 โรงงานเสมือน ซึ่งม่งเน้นถึงการจัดหาแบบจำลองคอมพิวเตอร์ของโรงงาน ภายใต้การทำงานของโรงงานเสมือนจริง โดยการทดสอบการออกแบบโรงงานที่ถูกนำเสนอ การจำลองความสัมพันธ์กับผู้จัดหาและกระบวนการผลิต โดยจะต้องมีการเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน
6. ประโยชน์ที่ได้รับ
                1. ธุรกิจสามารถดำเนินกิจกรรมภายใต้โซ่อุปทานได้อย่างรวดเร็ว
                2. ธุรกิจสามารถลดระดับสินค้าคงคลัง และนำไปสู่การลดต้นทุนการผลิต
                3. ธุรกิจสามารถส่งมอบสินค้าเข้าสู้ตลาด หรือถึงมือลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
                4. ธุรกิจสามารถสร้างความสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์กับผู้จัดหาและหุ้นส่วนธุรกิจ
ระบบสารสนเทศด้านการจัดการลูกค้าสัมพันธ์
1. แนวคิดและความหมาย
                Turban et al.  ได้ให้นิยามไว้ว่า
                การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ หรือซีอาร์เอ็ม หมายถึง ความพยายามทั่วทั้งองค์การที่จะได้ลูกค้ามา อีกทั้งธำรงรักษาลูกค้านั้นไว้ โดยตระหนักว่าลูกค้า คือ แกนหลักของธุรกิจ โดยการมุ่งเน้นสร้างความสัมพันธ์ และการคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว ทั้งในส่วนของการเพิ่มมูลค่าให้ลูกค้าและบริษัท
                O’brien ได้ระบุถึงวัตถุประสงค์ 2 ข้อของซีอาร์เอ็ม ดังนี้
                ข้อที่ 1 เพื่อสนับสนุนให้องค์การและลูกจ้าง สามารถเผชิญหน้ากับลูกค้ารายบุคคลในทุก ๆ มุมมอง
                ข้อที่ 2 เพื่อสนับสนุนลูกค้ารายบุคคลให้มีภาพพจน์ที่ดีต่อบริษัท
                ระบบสารสนเทศด้านการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ คือ ระบบที่มุ่งเน้นการใช้เครื่องมือของระบบประยุกต์ด้านซีอาร์เอ็ม โดย Turban et al. (2006, p.319) ได้จำแนกประเภท ดังนี้
1.1      ระบบประยุกต์ด้านเผชิญหน้ากับลูกค้า 
                1.2 ระบบประยุกต์ด้านสัมผัสลูกค้า 
                1.3 ระบบอัจฉริยะด้านรวมศูนย์ลูกค้า 
2. รูปแบบของการจัดการลูกค้าสัมพันธ์
                Turban et al.(2006, p.319) ได้จำแนกออกเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้
                2.1 ซีอาร์เอ็มเชิงกิจกรรม 
                2.2 ซีอาร์เอ็มเชิงปฏิบัติการ 
                2.3 ซีอาร์เอ็มเชิงวิเคราะห์ 
                2.4 ซีอาร์เอ็มเชิงร่วมมือ 
3. เทคโนโลยีด้านการจัดการลูกค้าสัมพันธ์
                3.1 ซอฟต์แวร์ซีอาร์เอ็ม จะรวบรวมมอดูลต่าง ๆ ของซอฟต์แวร์ที่ช่วยสนับสนุนธุรกิจและลูกจ้างทำงานอย่างรวดเร็วและสะดวกสบาย มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มุ่งเน้นผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นหลัก ซึ่ง O;brien ได้จำแนกประเภทซอฟต์แวร์ ดังนี้
                               3.1.1 การใช้ซอฟต์แวร์ด้านการติดต่อลูกค้า
                               3.1.2 การใช้ซอฟต์แวร์ด้านการขาย
                               3.1.3 การใช้ซอฟต์แวร์ด้านการตลาด
                               3.1.4 การใช้ซอฟต์แวร์ด้านการบริการและสนับสนุนลูกค้า                               
                 3.1.5 การใช้ซอฟต์แวร์ด้านการธำรงรักษาลูกค้าและสร้างโปรแกรมความจงรักภักดี
                3.2 การจัดการลูกค้าสัมพันธ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-ซีอาร์เอ็ม เริ่มพัฒนาขึ้นตั้งแต่องค์การเริ่มใช้โปรแกรมค้นดูเว็บ อินเทอร์เน็ต และจุดสัมผัสอิเล็กทรอนิกส์ เช่น อีเมล เครื่องปลายทาง ณ จุดขาย ศูนย์บริการทางโทรศัพท์และการขายตรง ซึ่ง Turban et al ได้จำแนกขอบเขตได้ 3 ระดับ คือ
                ระดับที่ 1 การบริการขั้นพื้นฐาน รวมถึงการบริการขั้นต่ำที่จำเป็นต้องมี
                ระดับที่ 2 ศูนย์บริการลูกค้า รวมถึงการติดตามรอยคำสั่งซื้อ
                ระดับที่ 3 การบริการด้านมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นบริการพิเศษ
                3.3 ระบบบริการลูกค้าบนเว็บ
                                3.3.1 ความสามารถด้านการค้นหาและเปรียบเทียบร้านค้าออนไลน์บนเว็บ
                                3.3.2. การเสนอผลิตภัณฑ์และบริการฟรี โดยใช้กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง
                                3.3.3 การสั่งทำสินค้าละบริการ ใช้โครงร่างระบบการสั่งทำปริมาณมาก
                3.4 ซีอาร์เอ็มไร้สาย เช่น หน่วยขายอัตโนมัติเคลื่อนที่ และระบบริการลูกจ้างไร้สาย โดยให้บริการด้านสารสนเทศแก่ลูกจ้างในขณะปฏิบัติงาน ณ สำนักงานลูกค้า
                3.5 ศูนย์บริการทางโทรศัพท์ เช่น บริษัททุนแห่งหนึ่งใช้ศูนย์บริการทางโทรศัพท์เพื่อหารรายได้จากการบริการด้านการลงทุนจากลูกค้าในทุกวันทำการ
4. ผลประโยชน์ที่ได้รับ
                1. ธุรกิจสามารถบ่งชี้ถึงลูกค้าและตั้งเป้าหมายที่ดีต่อลูกค้า ก่อให้เกิดกำไรสูงสุดตามมา
                2. ธุรกิจสามารถสะสมลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น
                3. ธุรกิจสามารถรองรับความต้องการด้านผลิตภัณฑ์และบริการ
                4. ธุรกิจสามารถสร้างรายการติดต่อลูกค้าได้ทุกเมื่อ
                5. ธุรกิจสามารถให้การสนับสนุนที่สอดคล้องกับประสบการณ์ของลูกค้า
ระบบสารสนเทศด้านการวางแผนทรัพยากรองค์การ
                O’brien ได้ให้นิยามไว้ว่า ระบบสารสนเทศด้านการวางแผนทรัพยากรองค์การ หรือ อีอาร์พี คือ เทคโนโลยีหนึ่ง ซึ่งถือเป็นกระดูกสันหลังของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการประมวลผลธุรกรรมบริเวณกว้างของวิสาหกิจที่เชื่อมโยงกระบวนการทางธุรกิจค่าง ๆ เข้าด้วยกัน
1. การบูรณาการระบวนการทางธุรกิจหลัก
                Laudon and Laudon ได้กล่าวไว้ว่า ระบบอีอาร์พี คือ ระบบวิสาหกิจหนึ่ง ซึ่งมีจุดมุ่งเน้นในส่วนของการบูรณาการ กระบวนการทางธุรกิจหลักขององค์การ โดยตี่งอยู่บนพื้นฐานของการเชื่อมโยงของมอดูลต่าง ๆ ของซอฟต์แวร์กับฐานข้อมูลรวมขององค์การ เริ่มตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูล การป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบประยุกต์ การริเริ่มใช้งานระบบอีอาร์พี จึงเปรียบเสมือนตัวเร่งให้ธุรกิจทำการปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจขององค์การให้ดีขึ้น
2. วิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด
                โดยซอฟต์แวร์จะนำเสนอทางเลือกที่เป็นแบบฉบับของธุรกิจประสบผลสำเร็จ หรือทางเลือกด้านวิธการแก้ปัญหาสำหรับการบรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ และมีการจัดทำแผนที่กระบวนการ เพื่อแสดงถึงขั้นตอนที่ต้องกระทำ
3. วิวัฒนาการด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์
                ซอฟต์แวร์ด้านอีอาร์พี หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ซอฟต์แวร์เบ็ดเสร็จ ซึ่งมีการรวมตัวด้านการวางแผน การจัดการและการใช้ทรัพยากรทั่วทั้งองค์การ และประกอบด้วยชุดคำสั่งของระบบประยุกต์ ที่ครอบคลุมถึงการปฏิบัติงานประจำส่วนหลังอัตโนมัติ จำแนกได้ 3 รุ่น
                3.1 ซอฟต์แวร์อีอาร์พีรุ่นที่หนึ่ง มุ่งเน้นกิจกรรมภายในองค์การ ซึ่งมักจะเป็นงานประจำและงานที่ทำซ้ำ ๆ กันในทุกวันทำการ
                3.2 ซอฟต์แวร์อีอาร์พีรุ่นที่สอง มุ่งเน้นถึงการเพิ่มพลังอำนาจที่มีอยู่เดิมของระบบสารสนเทศ อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการธุรกรรมและการตัดสินใจที่ดีขึ้น
                3.3 ซอฟต์แวร์อีอาร์พีรุ่นที่สาม มุ่งเน้นการรวมตัวเข้ากับการบริหารโครงการ ซึ่งเริ่มมีบทบาทมากขึ้นในส่วนกระบวนการธุรกิจที่เฉพาะเจาะจง
4. การบูรณาการระบบสารสนเทศ
                4.1 การบูรณาการเข้ากับซอฟต์แวร์ด้านการจัดการโซ่อุปทาน ในการใช้ซอฟต์แวร์ด้านอีอาร์พีและเอสซีเอ็มร่วมกัน อาจพิจารณาได้จากงานด้านการประมวลผลคำสั่งซื้อ โดยซอฟต์แวร์ด้านอีอาร์พีจะมุ่งเน้นถึงวิธีการได้คำสั่งนั้นมาและทำคำสั่งนั้นให้บรรลุผล แต่ซอฟต์แวร์ด้านเอสซีเอ็มจะมุ่งเน้นความเป็นไปได้ของการได้มาซึ่งคำสั่งซื้อ
                4.2 การบูรณาการเข้ากับซอฟต์แวร์ของระบบวิสาหกิจอื่น ๆ โดยเฉพาะซอฟต์แวร์ของระบบอีคอมเมิร์ซและซีอาร์เอ็ม ซึ่งได้แพร่กระจายการใช้งานมากภายในองค์การขนาดเล็ก
5. ผลประโยชน์ที่ได้รับ
                5.1 ด้านคุณภาพและประสิทธิภาพ 
                5.2 ด้านการลดต้นทุน 
                5.3 ด้านการตัดสินใจ 
                5.4 ด้านความรวดเร็วของธุรกิจ
ระบบสารสนเทศด้านการจัดการความรู้
1. ความรู้
                รูปแบบที่ 1 ความรู้โดยชัดเจน มักเกี่ยวข้องกับความรู้ วัตถุประสงค์ เหตุผล และเทคนิค โดยมักอยู่ในลักษณะของนโยบาย คำชี้แนะกระบวนการ รายงาน กลยุทธ์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความรู้รั่วไหล
                รูปแบบที่ 2 ความรู้โดยนัย คือ การจัดเก็บประสบการณ์ความหยั่งรู้ ความมีไหวพริบ ความลับทางการค้า ตลอดจนการเรียนรู้ในองค์การ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความรู้ฝังตัว ซึ่งมักจำกัดอยู่ในสมอง
2. การจัดการความรู้
                เป็นกระบวนการหนึ่ง ซึ่งช่วยองค์การในการระบุ คัดเลือก รวบรวม เผยแพร่ และโอนย้ายสารสนเทศที่มีความสำคัญ ซึ่งความรู้เหล่านี้จะช่วยแก้ปัญหาอันเกิดจากการทำงานที่มักเกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยวัฏจักรด้านการจัดการความรู้มี 6 ขั้นตอน คือ
                ขั้นตอนที่ 1 การสร้างความรู้ ซึ่งกำหนดได้จากการกระทำของบุคคล
                ขั้นตอนที่ 2 การจับความรู้ โดยการคักเลือกความรู้ที่มีมูลค่าและสมเหตุสมผล
                ขั้นตอนที่ 3 การปรับความรู้ โดยมีการจัดบริบทความรู้ใหม่ที่นำไปปฏิบัติได้
                ขั้นตอนที่ 4 การเก็บความรู้ โดยการจัดเก็บความรู้ที่มีประโยชน์
                ขั้นตอนที่ 5 การจัดการความรู้ โดยการปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
                ขั้นตอนที่ 6 การเผยแพร่ความรู้ โดยนำเสนอความรู้ซึ่งถูกจัดให้อยู่ในรูปแบบที่บุคคลต้องการ
3. ระบบการจัดการความรู้
                3.1 กลุ่มเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร คือ สื่อกลางที่ยินยอมให้ผู้เข้าใช้เข้าถึงความรู้และสื่อสารความรู้นั้นกับบุคคลอื่นโดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งผ่านทางอีเมล อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต
                3.2 กลุ่มเทคโนโลยีที่ใช้ร่วมกัน รียกอีกอย่างหนึ่งว่า กุ่มกรุ๊ปแวร์ คือ การปฏิบัติงานของกลุ่มงานหนึ่งที่สมาชิกมีการทำงานร่วมกันภายใต้เอกสารหนึ่งในเวลาเดียวกันหรือต่างเวลากัน
                3.3 กลุ่มเทคโนโลยีด้านการจัดเก็บและค้นคืนข้อมูล ซึ่งอาจอยู่ภายใต้ของการใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลเพื่อการจับ จัดเก็บ และจัดการความรู้ส่วนต่าง ๆ โดยต้องการใช้กลุ่มเครื่องมือที่ต่างไปจากปกติ
4. เทคโนโลยีด้านการจัดการความรู้
                4.1 ปัญญาประดิษฐ์ มักจะฝังตัวอยู่ในเคเอ็มเอส ไม่ว่าการฝังตัวจะกระทำโดยผู้ขายซอฟต์แวร์ หรือผู้พัฒนาระบบก็ตาม วิธีปัญญาประดิษฐ์ จะชี้ให้เห็นถึงความรู้ความชำนาญภายใต้เครื่องมือที่ใช้ดึงความรู้ออกมาอย่างอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติโดยอาศัยส่วนต่อประสานซึ่งผ่านการประมวลผลภาษาธรรมชาติ ตลอดจนการค้นหาความรู้จากฐานความรู้ โดยใช้โปรแกรมตัวแทนอัจฉริยะเป็นเครื่องมือ คือ ระบบผู้เชี่ยวชาญ โครงข่ายเส้นประสาท ตรรกศาสตร์คลุมเครือ และโปรแกรมตัวแทนอัจฉริยะ
                4.2 โปรแกรมตัวแทนอัจฉริยะ คือ ระบบซึ่งช่วยเรียนรู้ละช่วยเหลืองานของผู้ใช้ในแต่ละวัน เพื่อคัดเลือกสารสนเทศที่ผู้ใช้มีความต้องการมากกว่า Turban et al. ได้ยกตัวอย่าง เช่น
                           1. บริษัท ไอบีเอ็ม จำกัด เสนอโปรแกรมการทำเหมืองข้อมูลอัจฉริยะ สำหรับการค้นหา และวิเคราะห์ข้อมูล
                           2. บริษัท คอนเวคติส จำกัด ใช้โครงข่ายเส้นประสาท เพื่อค้นหาข้อมูล และรูปภาพ
                4.3 การค้นหาความรู้ในฐานข้อมูล คือ กระบวนการซึ่งใช้ค้นหา และสกัดสารสนเทศที่มีประโยชน์จากข้อมูลและเอกสาร ซึ่งรวมงานด้านการสกัดความรู้ด้านต่าง ๆ ตลอดจนการเก็บเกี่ยวสารสนเทศ โดยมีการดำเนินการอย่างอัตโนมัติ และส่งออกข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ข้อมูลเหล่านี้อาจถูกฝังลึกอยู่ภายในฐานข้อมูลขนาดใหญ่ โกดังข้อมูล หรือคลังความรู้
                4.4 ภาษาเอกซ์เอ็มแอล คือ ภาษาที่แสดงมาตรฐานของโครงสร้างข้อมูล เพื่อการประมวลผลข้อมูลผ่านระบบคอมพิวเตอร์ที่ต่างกันไป โดยไม่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมประมวลผลซึ่งทำขึ้นเป็นกรณีพิเศษ วิธีนี้เหมาะสมกับการใช้ระบบประยุกต์ด้านอิเล็กทรอนิกส์ ประโยชน์ของภาษาเอกซ์เอ็มแอล นอกจากจะเป็นการประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติและลดปริมาณงานที่เป็นกระดาษลงแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนระบบพันธมิตรธุรกิจด้วย
5. ศูนย์รวมความรู้วิสาหกิจ
                คือ ประตูที่เปิดเข้าสู่เคเอ็มเอส โดยมีวิวัฒนาการมาจากระบบสนับสนุนผู้บริหาร ระบบสนับสนุนกลุ่มร่วมงาน โปรแกรมค้นดูเว็บและระบบจัดการฐานข้อมูล นอกจากนี้ ยังใช้เป็นแหล่งรวบรวมสารสนเทศประเภทไม่มีโครงสร้างที่อยู่ภายในองค์การ โดยทีการใช้กลไกการทำงานร่วมกัน ซึ่งมีการบรรจุความรู้ในเครื่องแม่ข่าย
6. การบูรณาการระบบสารสนเทศ
                 6.1 การบูรณาการเข้ากับระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ระบบจะช่วยสนับสนุนด้านข้อมูลที่ใช้แก้ปัญหา โดยการนำเสนอความรู้ที่เกี่ยวข้องกับคำตอบของปัญหา
                6.2 การบูรณาการเข้ากับปัญญาประดิษฐ์ เช่น ความรู้ที่ถูกจัดเก็บอยู่ภายในฐานความรู้ถูกนำมาใช้ตามเงื่อนไขของ ถ้า-ดังนั้น-อื่นๆ โดยจะช่วยผู้ใช้ระบุถึงวิธีการที่จะนำความรู้จากระบบมาใช้
                6.3 การบูรณาการเข้ากับฐานจ้อมูลและระบบสารสนเทศอื่น โดยการปรับข้อมูลและสารสนเทศให้ทันสมัยมากขึ้น ตลอดจนมีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลและสารสนเทศนั้น
                6.4 การบูรณาการเข้ากับซีอาร์เอ็ม คือ การใช้โปรแกรมแผนกช่วยเหลือเพื่อสนับสนุนงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า
ระบบสารสนเทศด้านอัจฉริยะทางธุรกิจ
1. ความหมาย
                Turban et al.  ได้ให้นิยามไว้ว่า อัจฉริยะทางธุรกิจ คือ ระบบประยุกต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย การใช้เทคนิคด้านการรวบรวม การจัดเก็บ การวิเคราะห์ รวมทั้งการสนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลโดยผู้ใช้สารสนเทศ เพื่อช่วยสนับสนุนงานด้านการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ ให้เกิดประสิทธิผลเพิ่มขึ้น โดยมีการจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูลจากโกดังข้อมูล
2.เครื่องมือและเทคนิค
                Turban et al ได้จำแนกเครื่องมือด้านอัจฉริยะทางธุรกิจเป็น 2 กลุ่มหลัก ดังนี้
                กลุ่มที่ 1 การค้นพบความรู้ และสารสนเทศ โดยนำความรู้และสารสนเทศที่ได้รับมาใช้สนับสนุนการตัดสินใจของกลุ่มที่ 2
                กลุ่มที่ 2 การสนับสนุนการตัดสินใจและการวิเคราะห์เชิงอัจฉริยะ โดยการใช้ซอฟต์แวร์ด้านระบบอัจฉริยะเป็นเครื่องมือ ทั้ง 2 กลุ่มข้างต้นจะใช้เครื่องมือและเทคนิค
3. การประยุกต์ใช้งาน
              3.1 การใช้บีไอด้านการวิเคราะห์สารสนเทศ โดยนักวิเคราะห์ จะสามารถปฏิบัติการสอบถามข้อมูลหลายระดับชั้น โดยการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลและออกรายงานเจาะลึกรายละเอียด เพื่อค้นหาสาเหตุที่สินค้าบางรายการถูกจัดเก็บในคลังสินค้ามากเกินความจำเป็น หรือค้นหาสินค้าขายดี โดยใช้ข้อมูลขายของงวดก่อนหน้านี้ Turban et al. 
              3.2 การใช้บีไอเพื่อการพยากรณ์ยอดขาย พิซซ่าฮัท ใช้บีไอ เพื่อนำเสนอความต้องการของลูกค้าในรูปแบบของพิซซ่า กาใช้คูปองของลูกค้า ตลอดจนเวลาที่สั่งซื้อ โดยผู้จัดการการตลาดสามารถใช้บีไอ เพื่อช่วยพยากรณ์ความเป็นไปได้ในการสั่งซื้อพิซซ่าครั้งต่อไป และกำหนดกลยุทธ์การตลาดที่มุ่งชักนำให้ลูกค้าซื้อมากขึ้น Turban et al. 

วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดบทที่9

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 9 ระบบสารสนเทศทางบัญชี
1. จงอธิบายแนวทางการใช้งานระบบสารสนเทศทางการบัญชี มาพอเข้าใจ
 ตอบ  สารสนเทศทางการบัญชีในส่วนของการบัญชีการเงิน คือ งบการเงินและรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มที่นำเสนอต่อผู้ใช้งบการเงินและกรมสรรพากร และในส่วนการบัญชีบริหาร คือ รายงานการวิเคราะห์ต้นทุนต่าง ๆ รายงานงบประมาณ รายงานการวิเคราะห์งบการเงิน ตลอดจนรายงานการวิเคราะห์การลงทุน นอกจากนี้ยังใช้เป็นหลักฐานทางการเงิน เช่น ใบกำกับภาษี ใบส่งสินค้า และใบจ่ายเงินเดือน

2. จงยกตัวอย่างผู้ใช้สารสนเทศทางการบัญชีภายนอกองค์การ มาสัก 2 ตัวอย่าง
ตอบ ลูกค้า และธนาคาร

3. หากท่านดำเนินธุรกิจร้านมินิมาร์ทแห่งหนึ่ง ท่านเลือกที่จะติดตั้งใช้งานระบบสารสนเทศทางการบัญชีหรือไม่ อย่างไร
 ตอบ ติดตั้ง เพราะเป็นเครื่องมือหนึ่งของการเพิ่มมูลค่าให้ธุรกิจ และเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการดำเนินงานและตัดสินใจทางธุรกิจทั้งในส่วนของการวางแผน และการควบคุมการดำเนินงานของธุรกิจ

4. หากธุรกิจแห่งหนึ่ง มีการใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่ได้รับการประกันความถูกต้องของข้อมูล ท่านคิดว่าธุรกิจนั้นจะได้รับประโยชน์อย่างไร
ตอบ 1. ช่วยให้กิจการทราบถึงผลกำไรขาดทุนที่แท้จริงขององค์การ
         2. ช่วยให้ธุรกิจทราบฐานะทางการเงินของกิจการ
         3. ช่วยเป็นเครื่องมือสนับสนุนการหาแหล่งเงินทุนของธุรกิจ
         4. ช่วยเป็นเครื่องมือในการเสียภาษี
         5. ช่วยในการวางแผนธุรกิจ
         6. ช่วยในการปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

5. ท่านคิดว่าเอกสารทางการบัญชีของระบบประมวลผลด้วยมือ และแฟ้มข้อมูลของระบบประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
  ตอบ  มีความสัมพันธ์กันตรงที่เริ่มแรกเกิดการประมวลผลด้วยมือก่อน จากนั้นได้มีการพัฒนาเป็นระบบการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการประมวลผลที่เร็วกว่า

6. เพราะเหตุใด รายงานภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเป็นส่วนหนึ่งของรายงานทางการเงิน
 ตอบ เพราะรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผลลัพธ์จากระบบสารสนเทศทางการเงิน พร้อมทั้งนำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มส่งให้กรมสรรพากร

7. จงอธิบายแนวโน้มของระบบสารสนเทศทางการบัญชีในอนาคต
 ตอบ เน้นการโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีร่วมกับโปรแกรมการวางแผนทรัพยากรองค์การ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงข้อมูลภายใต้โซ่คุณค่าและโซ่อุปทานเข้าด้วยกัน

8. หากธุรกิจมีการนำเสนองบการเงิน ซึ่งมีการเสนอข้อมูลด้านการวิเคราะห์อัตราส่วนเพิ่มเติมด้วย จะถือเป็นรายงานทางการเงินหรือรายงานทางการบริหาร
 ตอบ เป็นรายงานทางการบริหาร

9. การเชื่อมโยงข้อมูลภายในธุรกิจ จะได้รับข้อมูลจากระบบงานใดบ้าง
 ­ตอบ อย่างแรกต้องมีการจัดเตรียมผังบัญชี ซึ่งเป็นผังที่แสดงการจัดหมวดหมู่บัญชีภายใต้การดำเนินงาน ลำดับต่อมา คือ การจัดเตรียมแฟ้มสมุดรายงานทั่วไปและแฟ้มงบประมาณ

10. เพราะเหตุใด ธุรกิจจึงจำเป็นต้องใช้โปรแกรมการวางแผนทรัพยากรองค์กร ร่วมกับการใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชี
 ตอบ เพื่อแก้ปัญหาระบบเดิม และยังได้รับซึ่งประโยชน์จากการใช้ข้อมูลร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ