วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สรุปบทที่ 6

บทที่ 6ระบบสารสนเทศทางการผลิต
แนวคิดและความหมาย
                O’brien  ได้ให้นิยามไว้ว่า ระบบสารสนเทศทางการผลิต หมายถึง ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนหน้าที่งานด้านการผลิตและดำเนินงาน ตลอดตนกิจกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับการวางแผน การควบคุมกระบวนการผลิตและการจัดระบบการผลิตของธุรกิจ
                Laudon and Laudon  ได้ให้นิยามไว้ว่า ระบบสารสนเทศทางการผลิต หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ใช้สนับสนุนกิจกรรมด้านการผลิตสินค้าหรือบริการ เช่น การวางแผนการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการผลิตในส่วนของการจัดหา การจัดเก็บ และการดำรงวัตถุดิบในการผลิต ซึ่งสามารถจำแนกระบบย่อยออกเป็น 3 ประเภท คือ
                ประเภทที่ 1 ระบบในกลยุทธ์ มีความเกี่ยวข้องกับเป้าหมายการผลิตในระยะยาว
                ประเภทที่ 2 ระบบในระดับบริหารหรือกลวิธี มีความเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์และติดตามดูแลต้นทุนและทรัพยากรการผลิต
                ประเภทที่ 3 ระบบในระดับปฏิบัติการ มีความเกี่ยวข้องกับงานขั้นพื้นฐานของการผลิต
การจัดการการผลิตและดำเนินงาน
                การผลิตและดำเนินงาน คือ กิจกรรมหลักกิจกรรมหนึ่ง ซึ่งอยู่ภายใต้โซ่คุณค่าขององค์การ ซึ่งถือเป็นกระบวนการการสร้างมูลค่าให้กับการแปรรูปปัจจัยการผลิตให้เป็นผลิตภัณฑ์อันทรงคุณค่า ส่งตรงถึงมือลูกค้าหรือบริโภค และมีส่วนผลักดันให้การดำเนินงานด้านการตลาด อีกทั้งยังมีการตอบสนองเป้าหมายสำคัญทางการผลิต
1. แนวคิดและความหมาย
                การผลิตและดำเนินงาน คือ การนำทรัพยากรต่าง ๆ ทั้งด้านแรงงาน เงินทุน เครื่องจักร เทคโนโลยี วิธีการ วัตถุดิบ ความต้องการของตลาด การจัดการและเวลา ซึ่งรวมเรียกว่า ปัจจัยการผลิต
                กระบวนการผลิต คือ กิจกรรมการแปรรูป และเพิ่มมูลค่าให้กับปัจจัยการผลิต เพื่อเข้าสู่รูปแบบของสินค้าหรือบริการซึ่งพร้อมส่งมอบให้ลูกค้า และในแต่ละกระบวนการผลิตจะประกอบด้วยกระบวนการผลิตย่อยหลายกระบวนการ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์
                จากทั้ง 2 ความหมาย กระบวนการผลิต เป็นส่วนหนึ่งของการผลิตและดำเนินงาน เพราะปัจจัยการผลิต คือ สิ่งรับเข้า กระบวนการผลิต คือ การประมวลผล และผลิตภัณฑ์ คือ สิ่งส่งออก ซึ่งสื่อถึงความหมายของกระบวนการผลิต
2. วิวัฒนาการผลิต
                ในระยะเริ่มต้น ธุรกิจส่วนใหญ่ดำเนินการผลิตบนพื้นฐานการผลิตเก็บเป็นสินค้าคงคลัง ซึ่งมีจุดเน้นด้านการผลิตสินค้าปริมาณมากและขายสินค้าผ่านเครือข่ายของช่องทางการตลาดหลากหลานรูปแบบ ในเวลาต่อมาจึงได้เปลี่ยนวิธีการผลิตโดยนำแนวคิดของระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดีมาใช้ และใช้วิธีการผลิตแบบตามคำสั่ง หรือวิธีการประกอบสินค้าตามคำสั่ง เพื่อรองรับงานด้านการเปลี่ยนแปลงคำสั่งผลิตจากลูกค้าที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน
3. กลยุทธ์การผลิตและดำเนินงาน
กลยุทธ์ที่ 1 การผลิตเก็บเป็นสินค้าคงคลัง เพื่อเก็บสินค้าคงคลังที่พร้อมส่งมอบให้แก่ลูกค้าทันที เหมาะกับการผลิตสินค้ามาตรฐานที่มีการผลิตในปริมาณมาก ธุรกิจจะต้องมีการพยากรณ์การขายได้อย่างแม่นยำ
                กลยุทธ์ที่ 2 การผลิตตามคำสั่ง เป็นการผลิตตามความต้องการของลูกค้าโดยผลิตเป็นล็อตในปริมาณน้อย และมีความยืดหยุ่นสูงในการปฏิบัติหน้าที่
                กลยุทธ์ที่ 3 การประกอบสินค้าตามคำสั่ง เป็นการประกอบชิ้นส่วนมาตรฐานตามข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ที่ระบุไว้ในคำสั่งซื้อของลูกค้า และนำมาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน
4.หน้าที่ทางการผลิตและดำเนินงาน
                จัดแบ่งหน้าที่เป็น 2 ด้าน คือ หน้าที่ด้านการผลิต ซึ่งเน้นความพึงพอใจของลูกค้าในสินค้าหรือบริการของธุรกิจเป็นหลัก และอีกหน้าที่หนึ่ง คือ หน้าที่ด้านโรงงาน ซึ่งเน้นความสามารถด้านการรองรับปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นในอนาคต โดยจัดแบ่งหน้าที่การผลิตได้ ดังนี้
                4.1 การวางแผนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อช่วยหาคำตอบว่าจะผลิตอะไร จำนวนเท่าไร ผลิตอย่างไร
                4.2 การออกแบบกระบวนการผลิต เพื่อให้ได้กระบวนการผลิตที่เหมาะสมกับความต้องการผลิตภัณฑ์ของลูกค้า
                4.3 การวางแผนทำเลที่ตั้งโรงงาน เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการผลิตในส่วนลดต้นทุน กานขนส่ง และการรักษาคุณภาพของวัสดุ
                4.4. การวางแผนการผลิตและดำเนินงาน เพื่อระบุวันผลิตและส่งมอบสินค้า
                4.5 การจัดการวัสดุและสินค้าคงเหลือ โดยเลือกระบบการจัดการวัสดุและสินค้าคงเหลือที่ดี มีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการจัดการงานระหว่างทำ
                4.6 การควบคุมคุณภาพสินค้า ให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไว้
                4.7 การลดต้นทุนการผลิต โดยทำการค้นหาวิธีการ หรือแนวคิดใด ๆ ซึ่งสามารถนำมาใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายของการลดต้นทุนการผลิตสินค้าหรือบริการที่มีผลต่อธุรกิจ
                4.8 การขจัดความสูญเปล่า โดยจะต้องออกแบบและดำเนินการตามาตรการที่จะลดความสูญเปล่าในโรงงานหรือในการดำเนินงานของธุรกิจ เช่น การลดระดับสินค้าคงคลังหรือวัสดุคงคลัง
                4.9 ความปลอดภัยในโรงงาน โดยสร้างระบบรักษาความปลอดภัยในโรงงาน ซึ่งสามารถช่วยลดอุบัติเหตุได้ เช่น ISO 14000 และ ISO 18000 เป็นต้น
                4.10 การเพิ่มผลิตภาพทางการผลิต โดยการแสวงหาวิธีการเพิ่มผลผลิตในโรงงาน รวมทั้งการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ ซึ่งอาจใช้วิธีการขจัดความสูญเปล่าเข้าช่วย
                4.11 การบำรุงรักษา โดยมีการบำรุงรักษาการแปรรูปผลผลิตให้คงไว้
                4.12 การประสานงานกับหน่วยงานอื่น เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกันกับหน่วยงานต่าง ๆ ขององค์การ ปัจจุบัน ได้มีการนำแนวคิดด้านการจัดการโซ่อุปทานมาใช้ เพื่อธุรกิจสามารถผลิตสินค้าหรือบริการได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า
5. การจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์
ฐาปนา บุญหล้า ได้นิยามความหมายของ การจัดการโซ่อุปทานและการจัดการโลจิสติกส์ ไว้ดังนี้
การจัดการโซ่อุปทาน หมายถึง การกำหนดกระบวนการบูรณาการด้านการวางแผน การจัดหา การผลิต การจัดส่ง และการคืนสินค้า โดนเริ่มตั้งแต่ผู้ขายทุกระดับจนถึงผู้ซื้อทุกระดับ ตลอดจนวางแผนแนวทางด้านกลยุทธ์การปฏิบัติการขององค์การ
                การจัดการโลจิสติกส์ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการโซ่อุปทาน คือ การวางแผน การปฏิบัติการและการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นประสิทธิผลการไหลของสินค้า การจัดเก็บสินค้า การบริการและสารสนเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
6. ระบบการผลิตยุคใหม่
6.1 ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี คือ แนวคิดทางการผลิตที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นของระบบการผลิตแบบโตโยต้า หลักสำคัญ คือ ผลิตในจำนวนเท่าที่ต้องการและมีการควบคุมสินค้าคงเหลือให้เหลือน้อยที่สุด โครงสร้างของระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี มีดังนี้
6.1.1 กรรมวิธีการผลิต 3 ประการ คือ
                             1. การปรับเรียบการผลิต คือ การผลิตเป็นล็อตเล็ก ๆ
                             2. การออกแบบวิธีการและเครื่องมือการผลิต
                             3.สร้างมาตรฐานงาน และควบคุมให้เสร็จตามเวลามาตรฐาน ณ รอบการผลิตหนึ่ง
            6.1.2 ระบบข้อมูลผลิต มีการนำแผ่นป้ายกำบังมาใช้สำหรับการสื่อสาร ระหว่างหน้าที่งานภายในโรงงาน ดังนั้น ทุก ๆ กระบวนการผลิตจึงใช้อัตราความเร็วของงานเท่ากันและใช้ระบบดึง คือ หน่วยงานหลังดึงชิ้นงานจากหน่วยงานหน้าเพื่อนำมาประกอบต่อ ส่วนหน่วยงานหน้าจะผลิตชิ้นส่วนทดแทนในจำนวนเท่ากับจำนวนชิ้นงานที่ถูกดึงไป ในส่วนผลที่ได้รับในการประยุกต์ใช้ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี คือ การเพิ่มคุณภาพสินค้าและลดของเสียระหว่างการผลิตให้น้อยลง
6.2 ระบบการผลิตแบบลีน เป็นระบบการผลิตที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก ทำให้เกิดมาตรฐานการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูง และมุ่งขจัดความสูญเปล่า ทั้งด้านคุณภาพ ราคา การจัดส่งสินค้าและการบริการแก่ลูกค้า นิพนธ์ บัวแก้ว ได้ระบุหลักการของลีน 5ข้อ ดังนี้
                            6.2.1 การระบุคุณค่าของสินค้าและบริการ โดยอาจใช้วิธีการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ของธุรกิจกับผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งภายใต้มุมมองของลูกค้า
                            6.2.2 การแสดงสายธารคุณค่า โดยมีการจัดทำผังแห่งคุณค่าซึ่งระบุถึงกิจกรรมที่ต้องทำ
                            6.2.3 การทำให้เกิดการไหลของคุณค่าอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นที่จะให้สายการผลิตสามารถปฏิบัติงานได้อย่างสม่ำเสมอ โดยปราศจากอุปสรรคขัดขวาง โดยใช้หลักการไหลของงานอย่างต่อเนื่อง
                            6.2.4 การให้ลูกค้าเป็นผู้ดึงคุณค่าจากกระบวนการ คือ จะทำการผลิตก่อต่อเมื่อลูกค้าเกิดความต้องการสินค้านั้น และในปริมาณที่ลูกค้าต้องการ
                             6.2.5 การสร้างคุณค่า และกำจัดความสูญเปล่าอย่างต่อเนื่อง มุ่งมั่นด้านการเพิ่มคุณค่าให้สินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนค้นพบความสูญเปล่าและขจัดให้หมดไป
สารสนเทศทางการผลิต
1. แนวคิดและความหมาย
สารสนเทศทางการผลิต คือ สารสนเทศที่ได้รับจากการประมวลผลของระบบสารสนเทศทางการผลิต ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลและสารสนเทศทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ โดยมีการใช้สารสนเทศเหล่านี้สนับสนุนกิจกรรมทางการผลิต ทั้งในเชิงปฏิบัติการและเชิงบริหาร
2. การจำแนกประเภท
2.1 สารสนเทศเชิงปฏิบัติการ คือ สารสนเทศที่ได้จากการดำเนินการผลิต
2.1.1 สารสนเทศด้านการดำเนินการผลิต
2.1.2 สารสนเทศด้านควบคุมคุณภาพ
2.1.3 สารสนเทศด้านการแก้ปัญหา
2.2 สารสนเทศเชิงบริหาร คือ สารสนเทศที่ใช้สนับสนุนการวางแผนและจัดการผลิต
2.2.1 สารสนเทศด้านการออกแบบการผลิต
2.2.2 สารสนเทศด้านการวางแผนการผลิต
2.2.3 สารสนเทศด้านการจัดการโลจิสติกส์
2.2.4 สารสนเทศด้านการควบคุมการผลิต
2.3 สารสนเทศภายนอกองค์การ คือ สารสนเทศที่ได้จากกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลจากภายนอกองค์การ
2.3.1 สารสนเทศด้านผู้ขายวัสดุ
2.3.2 สารสนเทศด้านผู้ขนส่งวัสดุ
กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ
1. ระบบออกแบบการผลิต คือ ระบบที่มุ่งเน้นถึงหน้าที่ด้านการออกแบบในส่วนของผลิตภัณฑ์และระบบการผลิต
1.1 การออกแบบผลิตภัณฑ์ คือ การกำหนดรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ ทั้งในส่วนของการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น และสร้างนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อค้นหาความต้องการของลูกค้า และพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการชองลูกค้า
1.2 การออกแบบระบบการผลิต มุ่งเน้นถึงการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มคุณค่าของผลผลิต เพื่อการสนองตอบกลยุทธ์ด้านความพึงพอใจของลูกค้าในระยะยาว
2. ระบบวางแผนการผลิต
              2.1 การวางแผนการผลิตรวม คือ การวางแผนอัตราการผลิต ปริมาณแรงงาน และการจัดเก็บคลังสินค้า โดยพิจารณาจากอุปสงค์ หรือความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ซึ่งหากเป็นแผนการผลิตรวมของธุรกิจบริการมักเรียกว่า แผนพนักงาน
2.2. การจัดตารางการผลิต เป็นการวางแผนระยะสั้นที่สอดคล้องกับแผนการผลิตรวม โดยคำนึงถึงการใช้กำลังการผลิตอย่างคุ้มค่าภายใต้ข้อจำกัดในการผลิต ซึ่ทำให้ธุรกิจทราบถึงปริมาณงานการผลิตในแต่ละสัปดาห์
2.3 การวางแผนความต้องการวัสดุ คือ การจัดการวัสดุคงคลัง ที่ความต้องการวัสดุนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการวัสดุอื่นที่มีความเกี่ยวข้อง รวมทั้งตารางการขนส่งวัตถุดิบ
2.4 การวางแผนทรัพยากรการผลิต โดยมุ่งเน้นการจัดสรรทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับการผลิตโดยตรง เช่น วัสดุ แรงงาน และค่าใช้จ่ายโรงงาน
3. ระบบจัดการโลจิสติกส์
3.1 โลจิสติกส์ขาเข้า คือ องค์การผู้ซื้อวัสดุและองค์การผู้ขายวัสดุ ซึ่งใช้สนับสนุนกิจกรรมภายในโซ่คุณค่าขององค์การในส่วนต่าง ๆ ดังนี้
3.1.1 การจัดหาวัสดุ
3.1.2 การตรวจรับวัสดุ
3.1.3 การควบคุมวัสดุ
3.2 การจัดการสินค้าคงเหลือ คือ การกำหนดถึงปริมาณของสินค้าคงเหลือ อาจอยู่ในลักษณะของวัสดุหรือวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ชิ้นส่วนการผลิต งานระหว่างทำ ตลอดจนสินค้าสำเร็จรูป
                4. ระบบดำเนินงานการผลิต มุ่งเน้นถึงการผลิตามกระบวนการผลิตและตามแผนการผลิตในส่วนต่าง ๆ ที่วางไว้ นอกจากนี้ ระบบดำเนินการผลิตในปัจจุบัน ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตหลากหลายรูปแบบ สำหรับช่วยสนับสนุนกิจกรรมของระบบการดำเนินการผลิตในส่วนต่าง ๆ เช่น การคอมพิวเตอร์ช่วยผลิต การผลิตแบบผสมผสานด้วยคอมพิวเตอร์ และการผลิตแบบยืดหยุ่น
5. ระบบควบคุมการผลิต จะเน้นถึงการควบคุมให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยใช้สารสนเทศทางการผลิตบางส่วน เช่น คำสั่งซื้อของลูกค้า รวมทั้งสถานภาพทางการผลิตของแต่ละสถานีการผลิต เพื่อตรวจสอบดูความก้าวหน้าของการผลิตให้เป็นไปตามแผนมากที่สุด
5.1 การควบคุมปฏิบัติการการผลิต
5.2 การควบคุมคุณภาพ                                
                5.3 การควบคุมต้นทุน 
5.4 การบำรุงรักษา 
เทคโนโลยีทางการผลิต
                1. โปรแกรมสำเร็จรูปทางการผลิต (Manufacturing Software) คือ ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ประเภทหนึ่งที่ถูกพัฒนาขึ้นใช้เฉพาะกับงานด้านการประมวลผลสารสนเทศทางการผลิตและจำเป็นต้องใช้ร่วมกับระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) เพื่อสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ แบ่งได้ 5ประเภท ดังนี้
                                1.1 โปรแกรมสำเร็จรูปด้านจัดการโลจิสติกส์ คือ ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ซึ่งอำนวยความสะดวกต่อการจัดทำกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ เช่น การบรรจุภัณฑ์ การขนส่ง การคลังวัสดุ การคลังสินค้า การบริการลูกค้า เป็นต้น
                                1.2 โปรแกรมสำเร็จรูปด้านควบคุมสินค้าคงเหลือ คือ ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ ซึ่งอำนวยความสะดวกด้านการควบคุมสินค้าคงเหลือ ที่มีการประยุกต์ใช้ตัวแบบสินค้าคงเหลือโดยอัตโนมัติ ด้วยต้นทุนการจัดหาซอฟต์แวร์ที่ต่ำ อีกทั้งมีการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจบนเว็บ
                                1.3 โปรแกรมสำเร็จรูปด้านวางแผนความต้องการวัสดุ คือ ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ ซึ่งอำนวยความสะดวกต่อการวางแผนด้านการจัดหาชิ้นส่วน วัสดุและส่วนประกอบย่อยของเครื่องจักร โดยมีการพัฒนาเป็นระบบงานคอมพิวเตอร์
                                1.4 โปรแกรมสำเร็จรูปด้านวางแผนทรัพยากรการผลิต คือ ซอฟต์แวร์ที่พัฒนามาจากโปรแกรมสำเร็จรูปด้านวางแผนความต้องการวัสดุ มีฟังก์ชั่นสนับสนุนการทำงานที่เพิ่มขึ้น เพื่อนำเสนอข้อมูลต้นทุนของชิ้นส่วนการผลิต รวมทั้งรายงานกระแสเงินสดจ่ายสำหรับชิ้นส่วนการผลิตนั้น
                                1.5 โปรแกรมสำเร็จรูปด้านการผลิตแบบทันเวลาพอดี คือ ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ที่ได้รับการสนับสนุนด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์จากผู้ขายซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์รายใหญ่ เช่น บริษัท ไอบีเอ็ม จำกัด เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับกระบวนการผลิตแบบสั่งทำปริมาณมาก และกระบวนการผลิตตามคำสั่ง มุ่งเน้นเป้าหมายในด้านลดการสูญเสียทรัพยากรการผลิตให้น้อยที่สุด
2. การใช้หุ่นยนต์ อาจมีการใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ช่วยงานด้านการกระจายและการจัดการวัสดุในโกดังสินค้าขนาดใหญ่ หรือมีการใช้หุ่นยนต์ช่วยงานด้านการนำออกวัสดุและชิ้นส่วนจากหน่วยเก็บสินค้าในเวลาที่ต้องการ ส่วนในประเทศญี่ปุ่น อาจมีการใช้ระบบอาคารอัจฉริยะในโรงงานอุตสาหกรรม
                3. การใช้รหัสแท่ง (Barcode) คือ สัญลักษณ์ที่อยู่ในรูปของแท่ง ซึ่งประกอบด้วยรหัสแท่ง คือ แท่งที่มีสีเข้มและช่องว่างที่มีสีอ่อน แท่งเหล่านี้จะเป็นตัวแทนของตัวเลขหรือตัวอักษรและสามารถอ่านข้อมูลที่เก็บในรหัสแท่งด้วยเครื่องกราดตรวจ ข้อมูลทุกอย่างจะถูกจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล ซึ่งโดยปกติแล้วธุรกิจมักจะนำแท่งมาใช้ร่วมกับงานขายสินค้า งานตัดยอดสินค้าคงเหลือและงานสั่งซื้อสินค้าเพิ่ม
                4. การใช้อินเทอร์เน็ต
                                4.1 ระบบการจัดการวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ มีตัวอย่างของระบบบนเว็บที่ใช้ออกแบบผลิตภัณฑ์จักรยาน โดยมีการรวมตัวของกลุ่มทีมงานโปรเจ็กต์ลิงก์ เพื่อประยุกต์ใช้ระบบจัดการวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์
                                4.2 ระบบจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ เป็นระบบที่ใช้สนับสนุนกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ขาเข้า โดยการใช้เทคโนโลยีเสียงและเครื่องกราดตรวจร่วมกับระบบสื่อสารแบบไร้สาย เพื่อสนับสนุนงานด้านการตรวจรับวัสดุจากผู้ขาย
                                4.3 ระบบสารสนเทศด้านการควบคุมคุณภาพบนเว็บ พัฒนาขึ้นโดยผู้ขายซอฟต์แวร์ สำหรับการคำนวณผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน โดยใช้เครื่องรับรู้จดบันทึกข้อมูลในระบบ ซึ่งอาจมีการแปลความหายข้อมูลโดยระบบผู้เชี่ยวชาญบนเว็บ ตลอดจนให้คำแนะนำพิเศษด้านปฏิบัติการควบคุมคุณภาพ
                                4.4 ระบบสารสนเทศด้านบริหารโครงการบนเว็บ มักใช้เครื่องมือเพื่อช่วยควบคุมโครงการ เช่นแผนภาพเพิร์ท และผังซีพีเอ็ม มุ่งเน้นที่การปรับระบบการจัดสรรทรัพยากรและการตัดสินใจ การใช้ซอฟต์แวร์พิเศษเพื่อประมาณการต้นทุน
                                4.5 ระบบสารสนเทศด้านจัดตารางการทำงานของลูกจ้างบนเว็บ สำนักงานดีโปต์ ได้พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อช่วยงานด้านการวางแผนและจัดตารางการผลิต ในส่วนการจัดสรรแรงงาน เพื่อประโยชน์ด้านการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า
                                4.6 ระบบสารสนเทศด้านจัดการโกดังสินค้าบนเว็บ บริษัท เซอร์แมน ไฟน์ เพเพอร์ ผู้ผลิตและผู้ค้าปลีกกระดาษคุณภาพสูง ได้พัฒนาระบบสารสนเทศด้านจัดการโกดังสินค้าเพื่อปรับการพยากรณ์การผลิต และปรับกระบวนการจัดการสินค้าคงเหลือที่ดีขึ้น
                5. การออกแบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer – Aided Design : CAD) หรือแคด” คือ ระบบที่ช่วยสนับสนุนการอกกแบบทางวิศวกรรมของส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ กระบวนการออกแบบจะคำนึงถึงความคิดเห็นของลูกค้ามากขึ้น มีการใช้แคดเพื่อสร้างแบบจำลองผลิตภัณฑ์ และทำการทดลองประสิทธิภาพของแบบจำลองนั้น                
6. การผลิตใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer – Aided Manufacturing : CAM) หรือแคม” คือ ระบบควบคุมและกระชับ กระบวนกรผลิตอัตโนมัติ โดยมักใช้ทำงานร่วมกับแคด และมีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยติดตามดูแลและควบคุมกระบวนการผลิตในโรงงาน
                7. ระบบการผลิตแบบยืดหยุ่น (Flexible Manufacturing System : FMS) คือ ระบบที่รองรับการเปลี่ยนแปลงคำสั่งการผลิตของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยลดเวลาการเปลี่ยนสายการผลิต ที่ส่งผลให้ธุรกิจตอบสนองความต้องการของตลาดและการแข่งขันได้อย่างรวดเร็ว
                8. การผลิตแบบผสมผสานด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer – Integrated Manufacturing : CIM) หรือ ซิม คือ ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อเชื่อมโยงส่วนประกอบของกระบวนการผลิตเข้าด้วยกัน โดยมุ่งเน้นเป้าหมายในด้านการเชื่อมต่อกระบวนการผลิตกับการประมวลผลคำสั่ง การออกแบบผลิตภัณฑ์ การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพ ตลอดจนการขนส่ง
                9. ระบบบูรณาการทางการผลิต มักช่วยสนับสนุนกิจกรรมที่หลากหลายทางการผลิต โดยมีการบูรณาการกิจกรรมต่าง ๆ เข้าด้วยกัน มีความง่ายต่อการใช้งาน และยังมีความเป็นอัตโนมัติ ซึ่งมุ่งเน้นถึงการผลิตสินค้าที่หลากหลาย
                10. ระบบสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange : EDI)เพื่อเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลทั้งในส่วนของตัวอักษร ภาพ เสียง วีดีโอ โปรแกรมหรือโทรสาร ผ่านทางเครือข่ายส่วนตัว หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น